9 สาเหตุ กระต่ายท้องเสีย เพราะอะไร ? และวิธีดูแล

9 สาเหตุ กระต่ายท้องเสีย เพราะอะไร ? และวิธีดูแล

อาการท้องเสียสำหรับกระต่ายสามารถพบเห็นได้บ่อย และยังถือเป็นปัญหาที่ร้ายแรงที่ไม่ควรมองข้ามอีกด้วยและเมื่อกระต่ายมีอาการท้องเสีย หากได้รับการดูที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้กระต่ายเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ สาเหตุที่กระต่ายท้องเสียสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ 

เมื่อกระต่ายมีอาการท้องเสียอาจะเป็นสัญญาของปัญหาระบบทางเดินอาหาร และอาจจะมีสาเหตุมาจากการให้กระต่ายรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง อาหารอาจจะมีคาร์โบไฮเดรตในปริมาณที่มากเกินไป หรืออาหารมีเส้นใยต่ำเกินไป  เป็นต้น 

สิ่งสำคัญคุณต้องตรวจดูว่ากระต่ายของคุณถ่ายอุจจาระเป็นปกติทุกวันหรือไม่ และตรวจกระต่ายของคุณทุกวันเพื่อหาอาการท้องเสีย เนื่องจากอาจเกิดจากโรคที่ลุกลามอย่างรวดเร็วจะต้องได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ หรืออาจนำไปสู่ปัญหาอื่นๆได้

9 สาเหตุที่ทำให้กระต่ายท้องเสีย

  1. ปัญหาของทางเดินระบบอาหาร
  2. ได้รับอาหารที่ไม่ถูกต้อง
  3. การเปลี่ยนอาหารอย่างกะทันหัน
  4. อาหารมีประมาณคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป
  5. ได้รับอาหารมีเส้นใยไม่เพียงพอ
  6. ความเครียดจากสิ่งแวดล้อม
  7. การติดเชื้อแบคทีเรีย  ไวรัส เชื้อรา ปรสิต
  8. กระต่ายหย่านม
  9. การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ

การเปลี่ยนอาหารอย่างกะทันหัน

การเปลี่ยนอาหารกระต่าย

คุณไม่ควรเปลี่ยนอาหารของกระต่ายอย่างกระทันหัน เนื่องจากกระต่ายมีกระเพาะอาหารที่บอบบางเป็นอย่างมาก หากคุณเปลี่ยนอาหารของพวกมันอย่างกระทันหัน อาจจะทำให้ระบบทางเดินอาหารของพวกมันเปลี่ยนไป  ดังนั้นคุณควรค่อยๆปรับเปลี่ยนอาหารภายใน 7-10 วัน เพื่อที่จะให้กระต่ายของคุณได้ปรับตัวชินกับรสชาติอาหาร  และปรับตัวเข้ากับอาหารใหม่ของพวกมัน

สารอาหารไม่เพียงพอ อาหารมีเส้นใยในปริมาณต่ำเกินไป

กระต่ายท้องเสีย

สำหรับการะต่ายพวกมันจะต้องการไฟเบอร์ในปริมาณที่มาก เช่น หญ้าแห้งทิโมธี  เพื่อช่วยสำหรับการย่อยอาหารของพวกมัน หากปริมาณอาหารกระต่ายมีไฟเบอร์ที่ไม่เพียงพอ จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กระต่ายท้องเสียได้บ่อยที่สุด อาหารของกระต่ายที่ดีควรประกอบด้วยหญ้าแห้งคุณภาพดีจำนวนมาก และควรให้อาหารอัดเม็ดสำเร็จรูป และผักใบเขียว ผสมไปในอาหารแต่ละมื้อของกระต่าย อาหารดังกล่าวจะช่วยลดคาลวามเสี่ยงของโรคทางเดินอาหารและยังรวมไปถึงอาหารท้องเสียในกระต่ายอีกด้วย 

วิธีการดูแลกระต่ายท้องเสีย 

วิธีดูแลกระต่ายท้องเสีย

วิธีที่ดีที่สุดสำหรับการดูแลกระต่ายที่ท้องเสัย การให้กระต่ายกินอาหารที่เหมาะสมและสมดุล เป็นสิ่งสำคัญในการป้องการ และควรจำกัดการให้อาหาร ควรเพิ่มปริมาณไฟเบอร์ในอาการของกระต่าย ให้อาหารเฉพาะหญ้าแห้งหรือหญ้าทีโมธี และอาหารอัดเม็ดสำหรับกระต่ายคุณภาพสูง ที่ไม่มีส่วนผสมของเมล็ดพืชและถั่ว  สิ่งสำคัญอีกอย่างคือการให้น้ำดื่มสะอาดเป็นประจำ อาการท้องเสียอาจทำให้กระต่ายของคุณขาดน้ำ ภาวะขาดน้ำสามารถนำไปสู่ปัญหาทางการแพทย์ที่ร้ายแรงเพิ่มเติมได้

3 ลักษณะของมูลกระต่าย

เหตุผลที่กระต่ายท้องเสีย

มูลของกระต่ายสามารถบ่งบอกถึงสุขภาพที่ดีของพวกมันได้ เนื่องจากสุขภาพของกระต่ายจะขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่องของระบบทางเดินอาหาร ดังนั้นคุณจึงสามารถสังเกตอาการของกระต่ายได้โดยการสังเกตจากมูลของพวกมัน  อย่างไรก็ตามคุณควรสังเกตลักษณะของมูลกระต่ายเป็นประจำทุกวัน 

1. ลักษณะมูลแบบปกติ 

มูลกระต่ายที่ดีจะดีต่อสุขาพกระต่ายจะต้องมีขนาด ประมาณ 7-12 mm และควรมีขนาดที่เท่ากัน หรือใกล้เคียงกัน หากคุณพบเห็นว่า มูลของกระต่ายในบางก้อนมีขนาดที่แตกต่างออกไป อาจเพราะกระต่ายอาจจะมีปัญหาสุขภาพ ควรปรึกษาสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รูปทรงกลมก้อนเล็ก โดยปกติแล้วมูลกระต่ายจะมีสีน้ำตาลเข้ม 

หากมีมูลสีที่เข้มมากเกินไป อาจเป็นเพราะกระต่ายของคุณได้รับโปรตีนในปริมาณที่มากเกินไป และในบางกรณีก็อาจจะเกินขึ้นเพราะการย่อยอาหารของกระต่ายได้เช่นกัน จะไม่เหลวหรือนิ่มจนเกินไป สิ่งสำคัญไม่ควรเหลวหรือมีลักษณะเหมือนกับมูลสัตว์ชนิดอื่นๆ  ไม่มีกลิ่นที่รุนแรงมาก หากคุณได้กลิ่นที่แรงมาจากบริเวณกระบะของกระต่าย นั้นอาจจะเป็นกลิ่นของปัสสาวะของพวกมันไม่ใช่กลิ่นมูลกระต่าย

2. ลักษณะมูลแบบพวงองุ่น

สามารถพบเห็นได้ทั่วไปมีขนาดเล็กมากสามารถเห็นได้ลักษณะเป็นกระจุกหรือเป็นพวง และมีความยาวประมาณ 1-2 นิ้ว รูปทรง cecotropes จะรวมกันมีลักษณะคล้ายพวงองุ่น ติดกันเป็นกลุ่ม และมีสีน้ำตาลเข้มและมีความเงาเล็กน้อยเนื่องจากมีเมือกปกคลุม มีเนื้อสัมผัสที่นิ่มและเหนียว มีกลิ่นที่แรงกว่าปกติ

3. ลักษณะมูลแบบสายสร้อย

มูลกระต่ายจะมีลักษณะพันกันเป็นสายสร้อย จะมีขนาดและสีที่สม่ำเสมอกัน ควรเป็นลักษณะก้อนกลมที่มีเนื้อแข็ง และหากมูลกระต่ายมีระยะห่างระหว่างที่เท่ากัน บ่งบอกถึงระบบการย่อยอาหารที่ดีของกระต่ายของคุณ

อ่านบทความเพิ่มเติม >>> กระต่ายกินอะไร ? อาหาร 6 ชนิด กระต่ายกินได้และดีต่อสุขภาพ

อ่านอิง/แหล่งที่มา

A Guide to Rabbit Poop

Health Problems in Rabbits

ใส่ความเห็น